.::ELF::.
เอลฟ์(อังกฤษ: elf) คือสิ่งมีชีวิตอมนุษย์ในตำนานนอร์สและตำนานปรัมปราในกลุ่มประเทศเจอร์เมนิก(สแกนดิเนเวียและเยอรมัน)เมื่อแรกเริ่ม แนวคิดเกี่ยวกับพวกเอลฟ์คือ"ชนเผ่าที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ ภาพวาดของชนเหล่านี้มักเป็นมนุษย์ทั้งชายและหญิงที่แลดูอ่อนเยาว์และงดงาม อาศัยอยู่ในป่า ในถ้ำ ใต้พื้นดิน หรือตามบ่อน้ำและตาน้ำพุ มักเชื่อกันว่าพวกเขามีชีวิตยืนยาวมากหรืออาจเป็นอมตะ รวมทั้งมีพลังเวทมนตร์วิเศษ"
แต่หลังจาก ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ผลงานอันโด่งดังของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏออกมาภาพของเอลฟ์ก็กลายเป็นผองชนผู้เป็นอมตะและเฉลียวฉลาด ทั้งที่คำว่า เอลฟ์ ในวรรณกรรมของโทลคีนมีความหมายแตกต่างไปคนละทางกับตำนานโบราณโดยสิ้นเชิงนอกจากนี้ เอลฟ์ยังมีบทบาทสำคัญอยู่ในวรรณกรรมแฟนตาซีสมัยใหม่ และเป็นตัวละครพื้นฐานในเกมแฟนตาซียุคใหม่ด้วย...
พวกเอล์ฟตื่นขึ้นในยุคที่หนึ่งของยุคแห่งพฤกษาที่ริมทะเลสาบ คุยวิเอเนนทางตะวันออกของ มิดเดิ้ลเอิร์ธเวลานั้นโลก อาร์ดา ยังไม่มีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ มีแต่เพียงแสงสว่างจากแสงดาว พวกเอล์ฟจึงมองเห็นแสงดาวเป็นสิ่งแรก และหลงรักในแสงดาวเหล่านั้น เทพโอโรเมเป็น วาลาร์ องค์แรกที่มาพบการตื่นของพวกเอล์ฟและนำข่าวกลับไปแจ้งยังวาลินอร์ ในยุคนั้น**วาลาร์ทั้งปวงอาศัยอยู่ที่วาลินอร์บน ทวีปอามัน ส่วน**มิดเดิ้ลเอิร์ธตกอยู่ใต้การก่อความวุ่นวายของ เมลคอร์
เมลคอร์ยังลอบจับตัวเอล์ฟบางคนไปทรมานและดัดแปลงให้กลายเป็นออร์คเหล่าวาลาร์จึงมีดำริให้พวกเอล์ฟอพยพมาอยู่ที่ทวีปอามันด้วยกันเมื่อนั้นจึงเกิดเป็น การเดินทางครั้งใหญ่( The Great Journey )เป็นเหตุให้เกิดการแบ่งชาติพันธุ์ของเอล์ฟเป็นกลุ่มต่างๆ
ที่มาของชื่อ
คำว่า "เอลฟ์" ในภาษาอังกฤษ มาจากภาษาอังกฤษโบราณว่าælf(บ้างเรียกว่า ylf) ซึ่งมาจากคำในตระกูลโปรโต-เยอรมันว่า *albo-z, *albi-z ภาษานอร์สโบราณว่า álfr เยอรมันยุคกลางชั้นสูงว่า elbeในตำนานอังกฤษยุคกลางนับถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถือว่าเอลฟ์ (elf) เป็นเพศชายส่วนเพศหญิงจะเรียกว่า elven(ภาษาอังกฤษโบราณว่า ælfen ซึ่งมาจาก *albinnja)
แต่รากคำดั้งเดิมยิ่งกว่านั้นน่าจะมาจากคำในภาษาตระกูล โปรโต-อินโด-ยู โรเปียน คือ *albh- ซึ่งมีความหมายว่า "ขาว" อันเป็นรากเดียวกันกับคำในภาษาละติน albus ที่แปลว่า "ขาว" อย่างไรก็ดีมีอีกทฤษฎีหนึ่งเสนอว่า คำนี้น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับ Rbhus นายช่างนักพยากรณ์ในตำนานเก่าแก่ของอินเดีย (ดู พจนานุกรมของอ๊อกซฟอร์ด) แนวคิดนี้ดูหนักแน่นกว่ารากคำในภาษาละตินมาก
คำว่า "เอลฟ์" ในภาษาอังกฤษ มาจากภาษาอังกฤษโบราณว่าælf(บ้างเรียกว่า ylf) ซึ่งมาจากคำในตระกูลโปรโต-เยอรมันว่า *albo-z, *albi-z ภาษานอร์สโบราณว่า álfr เยอรมันยุคกลางชั้นสูงว่า elbeในตำนานอังกฤษยุคกลางนับถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถือว่าเอลฟ์ (elf) เป็นเพศชายส่วนเพศหญิงจะเรียกว่า elven(ภาษาอังกฤษโบราณว่า ælfen ซึ่งมาจาก *albinnja)
แต่รากคำดั้งเดิมยิ่งกว่านั้นน่าจะมาจากคำในภาษาตระกูล โปรโต-อินโด-ยู โรเปียน คือ *albh- ซึ่งมีความหมายว่า "ขาว" อันเป็นรากเดียวกันกับคำในภาษาละติน albus ที่แปลว่า "ขาว" อย่างไรก็ดีมีอีกทฤษฎีหนึ่งเสนอว่า คำนี้น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับ Rbhus นายช่างนักพยากรณ์ในตำนานเก่าแก่ของอินเดีย (ดู พจนานุกรมของอ๊อกซฟอร์ด) แนวคิดนี้ดูหนักแน่นกว่ารากคำในภาษาละตินมาก
คำเรียกเอลฟ์แบบต่างๆ ในภาษากลุ่มเจอร์เมนิก นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ มีดังนี้
*เจอร์เมนิกเหนือ
oนอร์สโบราณ: álfr พหูพจน์ álfar
oไอซ์แลนด์: álfar, álfafólk และ huldufólk (ชนผู้ซ่อนตัว)
oเดนมาร์ก: Elver, elverfolk หรือ alfer (คำว่า alfer ในปัจจุบันแปลว่า ภูต (fairies))
oนอร์เวย์: alv, alven, alver, alvene / alvefolket
oสวีเดน: alfer, alver หรือ älvor (สำหรับคำเพศหญิง)
*เจอร์เมนิกตะวันตก
oดัตช์: elf, elfen, elven, alven
oเยอรมัน: Elf (ชาย) , Elfe (หญิง) , Elfen "fairies", Elb (ชาย, พหูพจน์ Elbe หรือ Elben) [2] เป็นคำสร้างขึ้นใหม่ ส่วน Elbe (หญิง) เป็นคำในภาษาเยอรมันยุคกลางชั้นสูง Alb Alp (ชาย) พหูพจน์ Alpe มีความหมายเหมือนกับ "incubus" (ภาษาเยอรมันโบราณชั้นสูงเรียก alp พหูพจน์ *alpî หรือ *elpî)
*โกธิค: *albs, พหูพจน์ *albeis (โปรคอพิอุส นักปราชญ์ชาวโรมัน มีชื่อเดิมว่า Albila)
เอล์ฟในตำนานยุโรปเหนือ
ตำนานยุโรปเหนือหรือ North mythology นั้น เป็นตำนานพวกสแกนดิเวเนีย(ได้แก่ ไอซ์แลนด์ สวีเดน เดนมาร์ก และนอร์เวย์)ซึ่งเอล์ฟของชาวยุโรปเหนือจะแบ่งออกเป็นสองกลุ่มกลุ่มหนึ่งเรียกว่า "**เอล์ฟสว่าง" กับอีกกลุ่มเรียกว่า "**เอล์ฟมืด" ซึ่งพวกเอล์ฟมืดจะอยู่ใต้ดินและมีความชำนาญด้านโลหะ
**โลกแห่งเอล์ฟสว่าง
ตามความเชื่อของชาวยุโรปเหนือนั้นโลกจะแบ่งออกเป็น 9 โลกโดยทั้ง 9โลก จะเชื่อมต่อกันด้วยพฤกษาขนาดใหญ่ที่มีนามว่า"อิกก์ดราซิลล์"โลกของเอล์ฟสว่างมีชื่อว่า "อัลฟ์ไฮม์"ซึ่งอยู่สูงกว่า "มิดโกร์ด" หรือโลกมนุษย์ ว่ากันว่าอัลฟ์ไฮม์อยู่ใกล้เคียงกับ "อัสโกร์ด" หรือดินแดนเทพของ"แอร์ซิร์" ซึ่งเป็นเผ่าเทพที่ทรงอำนาจที่สุด ถ้าจะให้สรุปก็คือเอล์ฟสว่างน่าจะมีระดับที่สูงรองลงมาจากระดับเทพนั่นเอง
เอล์ฟสว่างมีรูปร่างคล้ายคลึงกับมนุษย์มีความสวยงามทั้งชายหญิง แต่เอล์ฟสว่างบทบาทในตำนานยุโรปเหนือนั้นแทบไม่ได้รับการใส่รายละเอียดเท่าไหร่เลย รวมถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ก็ไม่มีระบุว่าเชี่ยวชาญด้านใดเป็นพิเศษ ในวันสำคัญอย่างวัน Ragnarok ซึ่งเป็นวันสงครามวันล้างโลกของชาวยุโรปเหนือ เรื่องราวส่วนใหญ่ไปจับอยู่กับการสู้กันระหว่างเทพกับมารมากกว่าจะเจาะลึกไปถึงพวกเอล์ฟด้วย...
ตำนานยุโรปเหนือหรือ North mythology นั้น เป็นตำนานพวกสแกนดิเวเนีย(ได้แก่ ไอซ์แลนด์ สวีเดน เดนมาร์ก และนอร์เวย์)ซึ่งเอล์ฟของชาวยุโรปเหนือจะแบ่งออกเป็นสองกลุ่มกลุ่มหนึ่งเรียกว่า "**เอล์ฟสว่าง" กับอีกกลุ่มเรียกว่า "**เอล์ฟมืด" ซึ่งพวกเอล์ฟมืดจะอยู่ใต้ดินและมีความชำนาญด้านโลหะ
**โลกแห่งเอล์ฟสว่าง
ตามความเชื่อของชาวยุโรปเหนือนั้นโลกจะแบ่งออกเป็น 9 โลกโดยทั้ง 9โลก จะเชื่อมต่อกันด้วยพฤกษาขนาดใหญ่ที่มีนามว่า"อิกก์ดราซิลล์"โลกของเอล์ฟสว่างมีชื่อว่า "อัลฟ์ไฮม์"ซึ่งอยู่สูงกว่า "มิดโกร์ด" หรือโลกมนุษย์ ว่ากันว่าอัลฟ์ไฮม์อยู่ใกล้เคียงกับ "อัสโกร์ด" หรือดินแดนเทพของ"แอร์ซิร์" ซึ่งเป็นเผ่าเทพที่ทรงอำนาจที่สุด ถ้าจะให้สรุปก็คือเอล์ฟสว่างน่าจะมีระดับที่สูงรองลงมาจากระดับเทพนั่นเอง
เอล์ฟสว่างมีรูปร่างคล้ายคลึงกับมนุษย์มีความสวยงามทั้งชายหญิง แต่เอล์ฟสว่างบทบาทในตำนานยุโรปเหนือนั้นแทบไม่ได้รับการใส่รายละเอียดเท่าไหร่เลย รวมถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ก็ไม่มีระบุว่าเชี่ยวชาญด้านใดเป็นพิเศษ ในวันสำคัญอย่างวัน Ragnarok ซึ่งเป็นวันสงครามวันล้างโลกของชาวยุโรปเหนือ เรื่องราวส่วนใหญ่ไปจับอยู่กับการสู้กันระหว่างเทพกับมารมากกว่าจะเจาะลึกไปถึงพวกเอล์ฟด้วย...
**โลกของเอล์ฟมืด
โลกของเอล์ฟมืดนั้นมีชื่อว่า "สวาร์ทัลฟ์ไฮม์" ซึ่งอย่างที่กล่าวไว้ในเบื้องต้นแล้วว่าโลกของเอล์ฟมืดอยู่ใต้ดิน ซึ่งอยู๋ใต้โลกมนุษย์ แต่ยังไปไม่ถึง "นิฟล์ไฮม์" หรือโลกแห่งนรก บางครั้งพวกเอล์ฟมืดก็ถูกระบุว่ามีลักษณ์คล้ายคนแคระ ตรงส่วนนี้ยังเป็นที่สับสนค่อนข้างมาก เพราะตำนานทางยุโรปเหนือก็มีการรุบุถึงคนแคระไว้อยู่แล้ว โดยโลกของคนแคระนั้นมีชื่อว่า "นิดาเวลลิร์" ซึ่งน่าจะอยู่ใกล้กับ "สวาร์ทัลฟ์ไฮม์" ของพวกเอล์ฟมืดของตำนานยุโรปเหนือ ซึ่งแสงแดด สำหรับพวกเอล์ฟมืดแล้วถือเป็นสิ่งมีพิษมีภัยทีเดียว เพราะจะทำให้มันทรมานและกลายเป็นหินได้(โอะ โอ๋ ขนาดนั้นเชียว *0*)
โลกของเอล์ฟมืดนั้นมีชื่อว่า "สวาร์ทัลฟ์ไฮม์" ซึ่งอย่างที่กล่าวไว้ในเบื้องต้นแล้วว่าโลกของเอล์ฟมืดอยู่ใต้ดิน ซึ่งอยู๋ใต้โลกมนุษย์ แต่ยังไปไม่ถึง "นิฟล์ไฮม์" หรือโลกแห่งนรก บางครั้งพวกเอล์ฟมืดก็ถูกระบุว่ามีลักษณ์คล้ายคนแคระ ตรงส่วนนี้ยังเป็นที่สับสนค่อนข้างมาก เพราะตำนานทางยุโรปเหนือก็มีการรุบุถึงคนแคระไว้อยู่แล้ว โดยโลกของคนแคระนั้นมีชื่อว่า "นิดาเวลลิร์" ซึ่งน่าจะอยู่ใกล้กับ "สวาร์ทัลฟ์ไฮม์" ของพวกเอล์ฟมืดของตำนานยุโรปเหนือ ซึ่งแสงแดด สำหรับพวกเอล์ฟมืดแล้วถือเป็นสิ่งมีพิษมีภัยทีเดียว เพราะจะทำให้มันทรมานและกลายเป็นหินได้(โอะ โอ๋ ขนาดนั้นเชียว *0*)
เอลฟ์ ในตำนานนอร์ส
เทพเฟรย์ เจ้าแห่งเอลฟ์สว่าง (light-elves)
เรื่องของเอลฟ์ที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏอยู่ในตำนานปรัมปราของพวกนอร์สในปกรณัมนอร์สโบราณเรียกพวก เอลฟ์ว่าอัลฟาร์(álfar) อย่างไรก็ดี แม้จะไม่มีหลักฐานที่เก่าแก่กว่าหรือหลักฐานในยุคเดียวกันกับพวกนอร์ส แต่ชื่อ อัลฟาร์ ก็มีความเกี่ยวพันอยู่อย่างมากในนิทานพื้นบ้านหลาย แห่งจนอาจเชื่อได้ว่าเอลฟ์ เป็นที่รู้จักอยู่ทั่วไปนานแล้วในหมู่ชนเผ่าเยอรมัน ไม่ได้เป็นที่รู้จักแต่เพียงในหมู่สแกนดิเนเวียนโบราณเท่านั้น
ไม่มีแหล่งข้อมูลใดอธิบายได้ชัดเจนว่าเอลฟ์คืออะไร แต่พวกเอลฟ์ดูจะเป็นที่รู้จักในฐานะสิ่งมีชีวิตขนาดเดียวกันกับมนุษย์ มีพลังอำนาจมากและสวยงามมาก มีมนุษย์ที่มีชื่อเสียงหลายคนได้รับยกย่องให้เป็นเอลฟ์หลังจากเสียชีวิตไป แล้ว เช่นกษัตริย์ โอลาฟ เกย์สตัด-เอลฟ์(Olaf Geirstad-Elf) หรือ วีรบุรุษนาม โวลุนด์ (Völundr)ก็ถูกกล่าวขานว่าเป็น "ผู้เป็นใหญ่แห่งเอลฟ์"(vísi álfa)หรือว่าเป็น "หนึ่งในหมู่เอลฟ์"(álfa ljóði) ดังปรากฏในบทกวี Völundarkviða ซึ่งในวรรณกรรมร้อยแก้วยุคหลังระบุว่าเขาเป็นโอรสของกษัตริย์แห่ง "ฟินนาร์" (Finnar) อันเป็นพลเมืองแถบขั้วโลกกลุ่มหนึ่งที่เชื่อกันว่ามีเวทมนตร์ (หมายถึงพวก ซามี (Sami))
***ในมหากาพย์ไทเดรค ราชินีชาวมนุษย์ผู้หนึ่งต้องประหลาดใจเป็นล้นพ้นเมื่อพบว่าคนรักของนางเป็น เอลฟ์ ไม่ใช่มนุษย์นอกจากนี้ในมหากาพย์ Hrolf Kraki กษัตริย์องค์หนึ่งชื่อ เฮลกิ (Helgi) ขืนใจนางเอลฟ์ตนหนึ่งจนตั้งครรภ์ นางเอลฟ์ผู้นี้กล่าวกันว่าคลุมร่างด้วยผ้าไหมและเป็นสตรีที่สวยงามที่สุด เท่าที่คนเคยพบ***
สายเลือดผสมระหว่างเอลฟ์กับมนุษย์น่าจะเริ่มต้นมาจากความเชื่อเก่าแก่ใน ตำนานนอร์สโบราณนี้เองราชินีชาวมนุษย์ผู้มีคนรักเป็นเอลฟ์ให้กำเนิดวีรบุรุษคนหนึ่งชื่อ Högni ส่วนนางเอลฟ์ซึ่งถูกกษัตริย์เฮลกิขืนใจให้กำเนิดธิดานามว่า สกุลด์ (Skuld)ภายหลังได้วิวาห์กับ Hjörvard ซึ่งเป็นผู้สังหาร Hrólfr Kraki ในมหากาพย์ Hrolf Kraki เล่าว่า สกุลด์ผู้เป็นลูกครึ่งเอลฟ์มีอำนาจวิเศษทางเวทมนตร์ และไม่มีใครสามารถเอาชนะในการศึกกับนางได้เลย เมื่อนักรบคนใดของนางถูกสังหาร นางจะเสกให้เขาลุกขึ้นมาต่อสู้ต่อไป หนทางเดียวที่จะเอาชนะนางได้คือต้องจับตัวนางเสียก่อนที่นางจะเรียกรวมกอง ทัพของนางได้ ซึ่งรวมถึงกองทัพเอลฟ์ด้วย
ในมหากาพย์ Heimskringla และมหากาพย์ธอร์สไตน์ (Thorstein) มีการบันทึกลำดับสันตติวงศ์ของกษัตริย์ผู้ครอง อัล์ฟเฮม ดินแดนซึ่งสอดคล้องกับแคว้น Bohuslän ในสวีเดนกับแคว้น Østfold ในนอร์เวย์กษัตริย์เหล่านี้สืบทอดเชื้อสายมาจากเอลฟ์ จึงกล่าวกันว่าเป็นผู้ที่งดงามยิ่งกว่ามนุษย์ธรรมดาทั่วไป
แผ่นดินซึ่งปกครองโดยพระราชาอัลฟ์มีชื่อเรียกว่าอัล์ฟเฮมทายาทของพระองค์ล้วนเป็นผองญาติของเอลฟ์ พวกเขางดงามยิ่งกว่าชนทั้งหลาย
กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์นี้มีชื่อว่าแกนดัล์ฟ (Gandalf)**
นักประวัติศาสตร์และ นักเทววิทยาชาวไอซ์แลนด์ชื่อ Snorri Sturlusonเรียกพวกคนแคระ(dvergar)ว่า "เอลฟ์มืด"(dark-elves: dökkálfar)หรือ "เอลฟ์ดำ"(black-elves: svartálfar)สิ่งนี้สะท้อนถึงความเชื่อในยุคกลางของสแกนดิเนเวียนหรือไม่ยังไม่แน่ชัดแต่เขาเรียกพวกเอลฟ์อื่นๆ ว่าเอลฟ์สว่าง(light-elves: ljósálfar) ซึ่งแสดงถึงความเกี่ยวข้องระหว่างพวกเอลฟ์กับเทพเฟรย์ (Freyr) ผู้เป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์(รูปอยู่ด้านบนครับ) Snorri บรรยายความแตกต่างของพวกเอลฟ์ไว้ว่า
"มีที่แห่งหนึ่งบนนั้น [ในห้วงเวหา] เรียกชื่อว่า นิวาสเอลฟ์ (Elf Home หรือ Álfheimr อัล์ฟเฮม) ผองชนผู้อาศัยอยู่ที่นั่นเรียกว่า เอลฟ์สว่าง (light elves: Ljósálfar) ส่วนพวกเอลฟ์มืด (dark elves: Dökkálfar) อาศัยอยู่ใต้พื้นโลก พวกเขามีร่างปรากฏไม่เหมือนกัน ทั้งมีความจริงแท้แตกต่างกันยิ่งกว่า เอลฟ์สว่างมีร่างปรากฏสว่างไสวยิ่งกว่าดวงอาทิตย์ แต่พวกเอลฟ์มืดนั้นดำสนิทยิ่งกว่าห้วงเหว"
เอลฟ์ ในตำนานสแกนดิเนเวีย
Älvalek "เอลฟ์เริงระบำ" ภาพวาดของออกัสต์ มัลสตรอม ในปี ค.ศ. 1866
ในนิทานพื้นบ้านของชาวสแกนดิเนเวียซึ่งได้ผสมผสานกลืนไปกับตำนานปรัมปราของนอร์สกับตำนานของชาวคริสเตียน เรียกชื่อ "เอลฟ์" ออกไปต่างๆ กัน กล่าวคือelver ในภาษาเดนมาร์ก/alv ในภาษานอร์เวย์/alv หรือ alva ในภาษาสวีเดน(คำแรกใช้เรียกเอลฟ์ชาย คำหลังใช้เรียกเอลฟ์หญิง) /แต่คำเรียกของชาวนอร์เวย์มักไม่ใคร่พบเห็นในตำนานพื้นบ้านเท่าใดนัก หากพวกเขาต้องการเอ่ยถึงก็มักใช้คำอื่นคือhuldrefolk หรือ vetterซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่ขุดรูอาศัยอยู่ใต้พิภพ คล้ายคลึงกับพวกคนแคระในตำนานนอร์สมากกว่าพวกเอลฟ์ หากเทียบกับตำนานไอซ์แลนด์จะเปรียบได้กับชาว huldufólk (ชนผู้ซ่อนตัว)
เอลฟ์ในตำนานของเดนมาร์กและสวีเดนจะแตกต่างไปจากพวก vetterทั้ง ๆ ที่ดินแดนของพวกเขาประชิดแทบเป็นหนึ่งเดียวกันส่วนภูตตัวเล็กมีปีกเหมือนแมลงในตำนานของชาวบริเตนจะเรียกว่า "älvor" ในคำสวีเดนยุคใหม่ หรือ "alfer" ในภาษาเดนมาร์กชาว "alf" ปรากฏในเทพนิยายเรื่องหนึ่งของ เอช. ซี. แอนเดอร์เซน นักเขียนชาวเดนมาร์ก เรื่องเอลฟ์แห่งกุหลาบ(The Elf of the Rose) โดยที่เขามีตัวเล็กมากจนสามารถใช้ดอกกุหลาบเป็นบ้านได้ อีกทั้งยังมีปีกซึ่ง "ยาวจากไหล่จดปลายเท้า" ทว่าแอนเดอร์เซนยังได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับเอลฟ์อีกเรื่องหนึ่งคือ The Elfin Hill เอลฟ์ในเรื่องนี้กลับไปคล้ายคลึงกับเอลฟ์ในนิทานพื้นบ้านเก่าแก่ของเดนมาร์ก คือเป็นสตรีผู้สวยงาม อาศัยอยู่ตามเนินเขาและภูผา สามารถเต้นรำกับชายหนุ่มจนกระทั่งเขาสิ้นชีวิต หากมองพวกนางจากด้านหลังจะเห็นเพียงความว่างเปล่า เช่นเดียวกับ ฮุลดรา (huldra) ในตำนานของนอร์เวย์และสวีเดน...(สรุปคือเอล์ฟของแอนเดอร์เซนชาวเดนมาร์กมี 2 แบบ คือ ตัวเล็กมีปีก กับรูปร่างสง่างามนั่นเอง) =A=''
เอลฟ์ในตำนานนอร์สซึ่งปรากฏร่องรอยอยู่ในลำนำพื้นบ้านส่วนใหญ่มักเป็น ผู้หญิงอาศัยอยู่ตามป่าเขาหรือหมู่หิน älvor ของชาวสวีเดน (เอกพจน์เรียก älva)เป็นเหล่าเด็กหญิงผู้งดงามจนน่าตื่นตะลึง อาศัยอยู่ในป่ากับกษัตริย์เอลฟ์พวกนี้มีอายุยืนยาวมากและมักรื่นเริงไร้แก่นสารภาพวาดของพวกเอลฟ์มักเป็นภาพชนสวยงามผมสีอ่อน สวมเสื้อผ้าสีขาวแต่ก็ดุร้ายเกรี้ยวกราดหากถูกบุกรุก(เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ในลำนำพื้นบ้านของสแกนดิเนเวีย)
ในนิทานพวกเขามักรับบทเป็นวิญญาณแห่งความเจ็บป่วยเรียกว่า älvablåst (สายลมแห่งเอลฟ์)ซึ่งปกติแล้วจะไม่เป็นอันตราย แต่มักเกิดเหตุขึ้นเสมอหากพวกเขาถูกทำให้ขุ่นเคืองสามารถรักษาได้โดยใช้แรงลมต้าน Skålgropar ที่สร้างจากเครื่องเป่าลม พบในงานสลักโบราณของสแกนดิเนเวีย ในยุคเก่าแก่เรียกกันว่า älvkvarnar หรือ เครื่องสีของเอลฟ์ (elven mills) ซึ่งสื่อถึงความเชื่อของพวกเขา มนุษย์อาจเอาอกเอาใจพวกเอลฟ์ได้โดยการเสนอสิ่งของที่พวกเขาชื่นชอบ (ส่วนมากมักเป็นเนย) โดยวางเอาไว้ในเครื่องสีของเอลฟ์ สิ่งนี้อาจเป็นกำเนิดของวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกอยู่ในหมู่นอร์สโบราณ ที่เรียกว่า álfablót
หากมนุษย์เฝ้ามองมองเริงระบำของพวกเอลฟ์ เขาจะรู้สึกว่าตนกำลังแลดูการเต้นรำนั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่ความเป็นจริงเวลาได้ล่วงผ่านไปนานหลายปี**(ปรากฏการณ์ทางเวลานี้มีปรากฏในวรรณกรรมของโทลคีน เรื่อง ซิลมาริลลิออน เมื่อธิงโกลเฝ้าดูเทพีเมลิอัน นอกจากนี้ยังปรากฏในตำนานของไอริช เกี่ยวกับ sídhe ด้วย) ลำนำบทหนึ่งในช่วงปลายของยุคกลางเล่าเรื่องเกี่ยวกับ Olaf Liljekrans เขาได้รับเชิญจากราชินีเอลฟ์ให้เต้นรำด้วยกัน แต่เขาปฏิเสธเพราะรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากเขาเข้าร่วมการเต้นรำนั้น ขณะนั้นเขากำลังเดินทางกลับบ้านเพื่อไปสู่งานวิวาห์ของตน ราชินีเสนอของขวัญให้แก่เขา แต่เขาก็ปฏิเสธอีก นางจึงขู่จะฆ่าเขาหากเขาไม่ยอมเข้าร่วม เขาขี่ม้าหนีไป แต่ก็ตายหลังจากนั้นด้วยโรคร้ายที่ราชินีส่งตามหลังเขามา เจ้าสาวผู้อ่อนเยาว์ของเขาก็เสียชีวิตตามไปด้วยหัวใจแหลกสลาย T^T
เอลฟ์ ในตำนานเยอรมัน
เอลฟ์ในภาษาแซกซอนโบราณเรียก alf ///// เยอรมันยุคกลางชั้นสูงเรียก alb หรือ alp(พหูพจน์ elbe, elber) ส่วนในภาษาเยอรมันโบราณชั้นสูงเรียก alb (ตามที่ปรากฏในคริสต์ศตวรรษที่ 13) เอลฟ์ดั้งเดิมในตำนานเยอรมันยุคคนเถื่อนนอกศาสนาเป็นสิ่งมีชีวิตที่ส่องสว่างอาศัยอยู่บนสวรรค์ทั้งนี้อาจหมายรวมถึงพวกเอลฟ์มืดและคนแคระที่อาศัยอยู่ใต้พิภพด้วย (ดังที่เข้าใจว่าคล้ายคลึงกับพวก álfr ในตำนานนอร์สโบราณ)ในลำนำพื้นบ้านหลังยุคคริสเตียนเริ่มมีการพรรณนาถึงพวกเอลฟ์ว่าเป็นกลุ่มชนซุกซนชอบเล่นแผลงๆ นำความเจ็บป่วยมายังผู้คนและสัตว์เลี้ยง รวมถึงนำเอาฝันร้ายมาใส่ผู้นิทราด้วยคำในภาษาเยอรมันที่หมายถึงฝันร้าย คือAlbtraumมีความหมายตรงตัวว่า"ฝันของเอลฟ์"คำเก่าแก่กว่านั้นคือAlbdruckมีความหมายว่า"แรงกดของเอลฟ์"เนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า ฝันร้ายเกิดจากการที่เอลฟ์มานั่งทับอยู่บนทรวงอกของผู้ฝัน ความเชื่อเกี่ยวกับเอลฟ์ในตำนานเยอรมนี้สอดคล้องกันอย่างยิ่งกับความเชื่อ อย่างหนึ่งในตำนานสแกนดิเนเวียเกี่ยว กับ มารา คือจิตภูตสตรีผู้ร้ายกาจที่บันดาลให้เกิดฝันร้ายนอกจากนี้ยังคล้ายคลึงกับตำนานว่าด้วย incubus และ succubus*ด้วย (*ศึกษาได้ในบทความครับ ตอนที่ 59)
เอลฟ์ในภาษาแซกซอนโบราณเรียก alf ///// เยอรมันยุคกลางชั้นสูงเรียก alb หรือ alp(พหูพจน์ elbe, elber) ส่วนในภาษาเยอรมันโบราณชั้นสูงเรียก alb (ตามที่ปรากฏในคริสต์ศตวรรษที่ 13) เอลฟ์ดั้งเดิมในตำนานเยอรมันยุคคนเถื่อนนอกศาสนาเป็นสิ่งมีชีวิตที่ส่องสว่างอาศัยอยู่บนสวรรค์ทั้งนี้อาจหมายรวมถึงพวกเอลฟ์มืดและคนแคระที่อาศัยอยู่ใต้พิภพด้วย (ดังที่เข้าใจว่าคล้ายคลึงกับพวก álfr ในตำนานนอร์สโบราณ)ในลำนำพื้นบ้านหลังยุคคริสเตียนเริ่มมีการพรรณนาถึงพวกเอลฟ์ว่าเป็นกลุ่มชนซุกซนชอบเล่นแผลงๆ นำความเจ็บป่วยมายังผู้คนและสัตว์เลี้ยง รวมถึงนำเอาฝันร้ายมาใส่ผู้นิทราด้วยคำในภาษาเยอรมันที่หมายถึงฝันร้าย คือAlbtraumมีความหมายตรงตัวว่า"ฝันของเอลฟ์"คำเก่าแก่กว่านั้นคือAlbdruckมีความหมายว่า"แรงกดของเอลฟ์"เนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า ฝันร้ายเกิดจากการที่เอลฟ์มานั่งทับอยู่บนทรวงอกของผู้ฝัน ความเชื่อเกี่ยวกับเอลฟ์ในตำนานเยอรมนี้สอดคล้องกันอย่างยิ่งกับความเชื่อ อย่างหนึ่งในตำนานสแกนดิเนเวียเกี่ยว กับ มารา คือจิตภูตสตรีผู้ร้ายกาจที่บันดาลให้เกิดฝันร้ายนอกจากนี้ยังคล้ายคลึงกับตำนานว่าด้วย incubus และ succubus*ด้วย (*ศึกษาได้ในบทความครับ ตอนที่ 59)
กษัตริย์เอลฟ์มีปรากฏอยู่ในตำนานค่อนข้างน้อย ไม่เหมือนเหล่าเอลฟ์สตรีผู้มีอำนาจมากมายดังในตำนานของเดนมาร์กและสวีเดน มหากาพย์ยุคกลางของเยอรมันเรื่องหนึ่งชื่อ Nibelungenlied มีตัวละครเอกตัวหนึ่งเป็นคนแคระนามว่า Alberichคำนี้มีความหมายตรงตัวแปลว่า"กษัตริย์เอลฟ์ผู้ทรงอำนาจ" ความสับสนปนเประหว่างเอลฟ์กับคนแคระนี้มีปรากฏสืบต่อมาอยู่ในจารึกเอ็ดดา (Edda) ด้วย ชื่อของตัวละครนี้ในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Alberon ในเวลาต่อมาได้ปรากฏในวรรณกรรมอังกฤษในชื่อ Oberon ในฐานะกษัตริย์แห่งเอลฟ์และภูตทั้งหลายในบทละครเรื่อง ฝัน ณ คืนกลางฤดูร้อน ของ เชกสเปียร์
ในเทพนิยายของพี่น้องตระกูลกริมม์เรื่องแรก คือ Die Wichtelmänner ตัวเอกซึ่งมีชื่อเดียวกับชื่อเรื่องเป็นหุ่นเปลือยสองตัวซึ่งทำงานช่วยช่าง ทำรองเท้า เมื่อช่างให้รางวัลแก่พวกเขาเป็นเศษผ้าชิ้นเล็กๆ พวกเขาก็ดีใจมาก แล้ววิ่งหนีหายไปไม่มีใครพบอีกเลย Wichtelmänner เป็นภูตเล็กๆ ชนิดหนึ่งทำนองเดียวกับคนแคระ kobold และ brownie แต่เมื่อบทประพันธ์ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ กลับมีชื่อเรื่องว่า เอลฟ์กับ ช่างทำรองเท้า (The Elves and the Shoemaker) แนวคิดนี้ยังได้สะท้อนต่อมาอยู่ในวรรณกรรมของ เจ. เค. โรว์ลิ่ง เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ในลักษณะของ เอลฟ์ประจำบ้าน
เอลฟ์ ในตำนานอังกฤษ
Poor little birdie teased ภาพวาดโดย ริชาร์ด ดอยล์ นักวาดภาพยุควิคตอเรีย แสดงให้เห็นมุมมองความเชื่อเกี่ยวกับเอลฟ์ในลำนำพื้นบ้านของอังกฤษ เป็นสิ่งมีชีวิตในป่าคล้ายมนุษย์ร่างเล็กจิ๋ว
คำว่า เอลฟ์ (elf) เป็นคำภาษาอังกฤษใหม่ ซึ่งนำมาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า ælf(พหูพจน์ ælfe) คำนี้มาสู่บริเตนได้โดยผ่านชาวแองโกล-แซกซอน ยังมีคำที่หมายถึง นางพรายน้ำ (nymph) ในตำนานกรีกและโรมัน ที่แปลมาโดยปราชญ์ชาวแองโกลแซกซอนว่า ælf และเพี้ยนเสียงไปเป็นคำต่างๆ
มีเหตุผลเพียงพอที่จะสันนิษฐานได้ว่าเอลฟ์ของแองโกลแซกซอน น่าจะคล้ายคลึงกับเอลฟ์ในตำนานนอร์สโบราณกล่าวคือ มีลักษณะเหมือนมนุษย์ รูปร่างสูงใหญ่เหมือนอย่างมนุษย์มักมีผู้นำเป็นหญิงสามารถให้ความช่วยเหลือหรือทำอันตรายแก่มนุษย์ที่ประสบกับพวกเขาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง æsir กับ álfar ที่พบในจารึกเอ็ดดา เป็นหลักฐานที่สะท้อนถึงงานเขียนเรื่อง Wið færstice ในตำนานอังกฤษโบราณ รวมถึงเป็นที่มาของคำว่า os และ ælf ในชื่อภาษาแองโกลแซกซอนด้วย (เช่น Oswald หรือ Ælfric)
ในแง่ของความงดงามของเอลฟ์ในตำนานนอร์ส มีคำในภาษาอังกฤษโบราณบางคำ เช่นælfsciene ("งามดั่งเอลฟ์") สำหรับใช้ในการบรรยายความงามอันยั่วยวนของสตรีบางคนในพระคริสตธรรมคัมภีร์ เช่นในบทกวีอังกฤษโบราณเรื่อง Judith และ Genesis A เป็นต้นในชุมชนหลายแห่งตลอดทั่วอังกฤษมักมีความเชื่อต่อพวกเอลฟ์ว่าเป็นพวกที่สวย งามและชอบช่วยเหลือคน////แต่ในส่วนของแองโกลแซกซอนแล้ว พวกเอลฟ์เป็นเหมือนกับปีศาจตัวอย่างดังเช่นที่ปรากฏในบทกวีเรื่อง เบวูล์ฟ บรรทัดที่ 112 ในอีกทางหนึ่ง oaf ซึ่งเป็นคำที่เพี้ยนมาจาก elf เชื่อว่ามีความหมายเดิมสื่อถึงความลุ่มหลงงมงายอันเกิดจากเวทมนตร์มายาของ พวกเอลฟ์
เรื่องของเอลฟ์ปรากฏอยู่มากมายในบทลำนำดั้งเดิมของอังกฤษและสก็อตแลนด์ รวมถึงนิทานพื้นบ้านทั้งหลาย โดยมากเกี่ยวกับเรื่องการเดินทางไปยัง เอลป์เฮม (Elphame หรือ Elfland แดนเอลฟ์ คำเดียวกันกับ อัล์ฟเฮม (Álfheim) ในตำนานนอร์ส) ดินแดนลี้ลับที่น่าหวาดหวั่นบางครั้งภาพวาดของเอลฟ์จะเป็นโครงร่างแสงสว่าง เช่นราชินีแห่งเอลป์เฮมในบทลำนำ Thomas the Rhymer กระนั้นก็มีตัวอย่างมากมายที่เอลฟ์เป็นตัวละครอันแสนชั่วร้าย มักเป็นขโมยหรือฆาตกร เช่นใน Tale of Childe Rowland หรือลำนำ Lady Isabel and the Elf-Knight ซึ่งอัศวินเอลฟ์ลักพาตัวอิซาเบลไปเพื่อสังหารเสีย เอลฟ์ในบทลำนำเหล่านี้มักเป็นเพศชาย มีเอลฟ์หญิงแต่เพียงคนเดียวคือราชินีแห่งแดนเอลฟ์ที่ปรากฏในลำนำ Thomas the Rhymer เท่านั้นแต่ในบรรดาตำนานทั้งหมดนี้ไม่มีเรื่องไหนเลยที่เอลฟ์เป็นภูตพรายร่างเล็กจิ๋ว
นิทานพื้นบ้านของอังกฤษในช่วงต้นยุคใหม่นี้เองที่เริ่มวาดภาพเอลฟ์เป็น ผองชนตัวเล็กๆ ผู้ว่องไวและซุกซนแม้จะไม่ใช่ปีศาจแต่ก็มักสร้างความรำคาญแก่มนุษย์หรือขัดขวางกิจธุระให้เสียหายบางครั้งเล่ากันว่าพวกเอลฟ์สามารถหายตัวได้ ตำนานในลักษณะนี้ เอลฟ์มีความคล้ายคลึงกับพวกภูตมากขึ้น
ในเวลาต่อมาคำว่า เอลฟ์ และ ภูตเริ่มนำมาใช้แทนความหมายของจิตวิญญาณแห่งธรรมชาติในหลายๆ รูปแบบ ดังเช่นพัค ฮอบกอบลิน โรบิน กู้ดเฟลโลว์ และอื่นๆคำเหล่านี้และคำใกล้เคียงในหมู่ภาษายูโรเปียนอื่นๆ ก็ไม่ได้สื่อความหมายถึงชนเผ่าในตำนานพื้นบ้านอีกต่อไป
(Darkelf)
เอลฟ์[Elf] ในแบบอัลดูริน
-->เวลาผ่านไปเนิ่นนาน เหล่าวาลาร์ได้อาศัยอยู่ภายใต้แสงแห่งพฤกษาบนเทือกเขาแห่งอามัน ขณะที่มัชฌิมโลกทอดตัวเงียบเชียบภายใต้แสงประกายของดวงดาว สรรพสิ่งนิ่งสงบอยู่ในความมืด แต่มีชีวิตที่เก่าแก่ได้บังเกิดขึ้นแล้ว นั่นคือพืชบางชนิดในทะเลและต้นไม้ใหญ่ในเงาแห่งป่าเขา
-->ในที่แห่งนั้นเหล่าวาลาร์มิใคร่จักมา เว้นแต่เพียงเทพียาวานนา (Yavanna) และเทพโอโรเม (Orome) เท่านั้น ยาวานนามักจะเดินอยู่ในความมืดอย่างเหงาหงอย ด้วยเวลาแห่งยามวสันต์ของอาร์ดายังมาไม่ถึง พระนางจะบรรทมอยู่ท่ามกลางสรรพสิ่งเพื่อชะลออายุของสิ่งเหล่านั้น และเฝ้ารอเวลาที่จะตื่น
-->เวลาผ่านไปเนิ่นนาน เหล่าวาลาร์ได้อาศัยอยู่ภายใต้แสงแห่งพฤกษาบนเทือกเขาแห่งอามัน ขณะที่มัชฌิมโลกทอดตัวเงียบเชียบภายใต้แสงประกายของดวงดาว สรรพสิ่งนิ่งสงบอยู่ในความมืด แต่มีชีวิตที่เก่าแก่ได้บังเกิดขึ้นแล้ว นั่นคือพืชบางชนิดในทะเลและต้นไม้ใหญ่ในเงาแห่งป่าเขา
-->ในที่แห่งนั้นเหล่าวาลาร์มิใคร่จักมา เว้นแต่เพียงเทพียาวานนา (Yavanna) และเทพโอโรเม (Orome) เท่านั้น ยาวานนามักจะเดินอยู่ในความมืดอย่างเหงาหงอย ด้วยเวลาแห่งยามวสันต์ของอาร์ดายังมาไม่ถึง พระนางจะบรรทมอยู่ท่ามกลางสรรพสิ่งเพื่อชะลออายุของสิ่งเหล่านั้น และเฝ้ารอเวลาที่จะตื่น
-->แต่ในทางเหนือ เมลคอร์สร้างสมฐานกำลังของเขาโดยมิได้หลับนอนเลย สิ่งชั่วร้ายที่เขาสร้างขึ้นออกขวักไขว่ทั่วไป ในความมืดของพงไพรมีแต่ปีศาจแลความสยดสยองสิงสู่ ในอุทุมโน (Utumno) เขาได้รวบรวมสิ่งที่เขาสร้างขึ้น และบรรจุจิตวิญญาณให้แก่พวกมัน ดวงใจบรรจุด้วยเพลิงกาฬ ปกคลุมกายด้วยความมืดมน มีอาวุธเป็นเปลวไฟ ชื่อของมันถูกเรียกขานกันในมัชฌิมโลกในกาลต่อมาว่าบัลรอก (Balrog) และในช่วงเวลาแห่งความอนธการนั้น เมลคอร์ได้สร้างสิ่งมีชีวิตประหลาดขึ้นมากมาย ซึ่งได้ก่อให้เกิดภัยพิบัติแก่มัชฌิมโลกในกาลต่อมา
-->เมลคอร์ยังได้สร้างป้อมปราการขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือไม่ห่างจากทะเลนัก เพื่อป้องกันการจู่โจมใดๆ ที่อาจมาจากอามัน ผู้รับผิดชอบดูแลการป้องกันคือเซารอน บริวารของเมลคอร์ ที่แห่งนั้นมีชื่อว่า อังบันด์ (Angband)
-->ไม่นานเหล่าวาลาร์ก็ได้จัดประชุมขึ้น เนื่องจากข่าวที่ได้รับจากยาวานนาและโอโรเมที่มาจากดินแดนภายนอกนั้น ยาวานนาเตือนให้เหล่าเทพระลึกถึงพันธกิจที่อิลูวาตาร์ทรงประทานไว้ ว่าไม่นานนักบุตรแห่งอิลูวาตาร์จักตื่นขึ้น เหล่าเทพจักปล่อยให้พวกเขาอยู่ในความมืดหรือ? จักปล่อยให้พวกเขาใช้ชีวิตในแผ่นดินที่มีแต่ปีศาจหรือ? และจักให้พวกเขาเคารพเมลคอร์เป็นลอร์ด ขณะที่เทพราชันย์มานเวทรงประทับอยู่แต่ที่ทานิเควทิล (Taniquetil) ละหรือ?
-->เทพทุลคัสตรัสด้วยพระทัยอันร้อน ชักชวนให้ไปทำลายสิ่งชั่วร้ายเสียให้สิ้น แต่เทพมานดอสตรัสว่า มันเป็นลิขิตที่เหล่าปฐมชน (The Firstborn) จักต้องตื่นขึ้นในความมืด และได้เห็นดวงดาวเป็นปฐมทัศน์ เว้นแต่เทพราชินีวาร์ดาจะทรงเมตตา โปรดให้ฟากฟ้าสว่างขึ้นสักเล็กน้อยก็เห็นสมควร
-->ดังนั้นวาร์ดาจึงได้เสด็จจากที่เทพชุมนุม ประทับบนยอดเขาแห่งทานิเควทิล ทอดพระเนตรฟากฟ้าที่พร่างพราวด้วยดวงดารา ครั้นแล้วจึงได้สร้างสรรค์งานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนับแต่เหล่าวาลาร์ได้มาถึงอาร์ดา ทรงนำละอองไอน้ำจากพฤกษาเทลเพริออน (Telperion) ประดิษฐ์เป็นดวงดาราสว่างสดใสนาม ทินทาลเล (Tintalle) ซึ่งเหล่าเอล์ฟขนานนามในภายหลังว่า เอเลนทาริ (Elentari) ราชินีแห่งดวงดาว และทรงประดิษฐ์คาร์นิล (Carnil) และลูอินิล (Luinil) เนนาร์ (Nenar) และลุมบาร์ (Lumbar) อัลคารินเคว (Alcarinque) และเอเลมมิเร (Elemmire)
-->พระองค์ทรงรวบรวมดวงดาวโบราณมาจัดกลุ่มเข้าด้วยกัน ให้เป็นภาพสัญลักษณ์แห่งสรวงสวรรค์ของอาร์ดา ได้แก่วิลวาริน (Wilwarin) เทลูเมนดิล (Telumendil) โซโรนูเม (Soronume) อนาร์ริมา (Anarrima) และเมเนลมาคาร์ (Menelmacar) กับเข็มขัดอันส่องสว่าง เป็นสัญลักษณ์ของสงครามครั้งสุดท้ายอันเป็นกาลสิ้นยุค ในทิศอุดรทรงประดับมงกุฎดาราเจ็ดดวงเป็นการเย้ยหยันแก่เมลคอร์ วาลาเคียร์คา (Valacirca) หรือคมเคียวแห่งวาลาร์ สัญลักษณ์แห่งความพินาศ
-->วาร์ดาทรงสร้างสรรค์เหล่าดาราเป็นเวลาเนิ่นนาน ครั้นแล้วเมื่อทรงสำเร็จผล ยามที่เมเนลมาคาร์ก้าวย่างขึ้นสู่ท้องฟ้า และเฮลลูอิน (Helluin : ดาวซีรีอุส) เปล่งประกายแสงสีน้ำเงินส่องผ่านเมฆหมอกมายังพื้นโลก ยามนั้นเองเหล่าปฐมชนก็ตื่นขึ้น ที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน (Cuivienen) หรือทะเลสาบชาคริต (Water of Awakening) ปฐมทัศน์ของพวกเขาคือดวงดาวแห่งสรวงสวรรค์ และพวกเขาก็หลงรักแสงดารา และเคารพยกย่องเทพีวาร์ดาเอเลนทาริ เหนือกว่าเหล่าวาลาร์ทั้งปวง
-->ครั้งนั้นพื้นผิวโลกยังมีการเปลี่ยนแปลง แผ่นดินและทะเลบ้างแยกออกบ้างเข้ารวมกัน แม่น้ำยังเปลี่ยนแปลงเส้นทางและขุนเขาไม่ยั่งยืน แม้คุยวิเอเนนก็เปลี่ยนแปลงไป เล่าขานกันในหมู่เอล์ฟว่า ทะเลสาบนี้อยู่ทางตะวันออก ค่อนไปทางด้านเหนือ เป็นอ่าวส่วนหนึ่งของทะเลในแผ่นดินชื่อ เฮลคาร์ (Helcar) ทะเลนี้อยู่ที่เชิงเขาอิลลูอิน (Illuin) โดยที่แม่น้ำทั้งปวงมีต้นน้ำมาจากภูเขาในทางตะวันออกของมัชฌิมโลก เสียงแรกที่สัมผัสโสตของเหล่าเอล์ฟจึงเป็นเสียงสายน้ำไหล และเสียงน้ำตกที่หลั่งกระทบหิน
-->เหล่าปฐมชนอาศัยอยู่ริมทะเลสาบนั้นเป็นเวลานาน แล้วพวกเขาก็เริ่มพูด และตั้งชื่อให้แก่สรรพสิ่ง เขาเรียกตัวเองว่าเควนดิ (Quendi) ซึ่งหมายถึงผู้ที่สามารถเปล่งเสียง ด้วยพวกเขามิได้พบใครหรือสิ่งใดที่สามารถพูดหรือร้องเพลงได้เลย
-->เหล่าปฐมชนอาศัยอยู่ริมทะเลสาบนั้นเป็นเวลานาน แล้วพวกเขาก็เริ่มพูด และตั้งชื่อให้แก่สรรพสิ่ง เขาเรียกตัวเองว่าเควนดิ (Quendi) ซึ่งหมายถึงผู้ที่สามารถเปล่งเสียง ด้วยพวกเขามิได้พบใครหรือสิ่งใดที่สามารถพูดหรือร้องเพลงได้เลย
-->ครานั้น เทพโอโรเมทรงท่องเที่ยวล่า!มาทางตะวันออก เลียบชายฝั่งทะเลเฮลคาร์ขึ้นมาทางเหนือ ตามแนวเงาของขุนเขาแห่งบูรพา โอโรคาร์นิ (Orocarni) ในทันใดนั้นนาฮาร์ (Nahar) อาชาของพระองค์ก็ส่งเสียงร้องแล้วหยุดวิ่ง โอโรเมแปลกพระทัยนัก ประทับนั่งอยู่เงียบๆ เฝ้าสังเกตการณ์ ครั้นแล้วภายใต้แสงแห่งดวงดาวในดินแดนอันมืดมิด พระองค์ทรงยินเสียงร้องเพลงแผ่วหวานแว่วมา
-->และนั่นเป็นสิ่งที่เหล่าวาลาร์ได้พบโดยความบังเอิญ ทั้งที่ได้เฝ้ารอการตื่นขึ้นของปฐมชนมาเป็นเวลานาน เทพโอโรเมทอดพระเนตรเหล่าปฐมชนด้วยความพิศวง และด้วยความรัก ทรงเรียกพวกเขาว่าเอลดาร์ (Eldar) ซึ่งหมายถึงประชากรแห่งแสงดาว แต่ในภายหลังกลับหมายเฉพาะเหล่าเอล์ฟที่ได้ติดตามพระองค์ไปยังตะวันตกเท่านั้น
-->แต่เหล่าเอล์ฟพากันเกรงกลัวการปรากฏตัวของพระองค์ เพราะผลจากการกระทำของเมลคอร์ ซึ่งได้สำเหนียกถึงการตื่นขึ้นของเหล่าปฐมชนก่อนวาลาร์ใดๆ เมลคอร์คอยสอดส่องการใช้ชีวิตของเหล่าเอล์ฟ และส่งจิตวิญญาณร้ายคอยสอดแนมพวกเขา เมื่อใดที่มีผู้ใดผู้หนึ่งอยู่ตามลำพัง หรืออยู่แต่เพียงน้อยคน คนเหล่านั้นจักหายสาบสูญไป แลเกิดการโจษขานในหมู่เอล์ฟว่าพวกล่า!จับตัวคนของเขาไป ซึ่งพวกเขาเกรงกลัวเหลือเกิน ยังมีบทเพลงโบราณที่ยังหลงเหลือขับขานอยู่ในทางตะวันตก กล่าวถึงความมืดมนที่ท่องเที่ยวอยู่บนเนินเขาแห่งคุยวิเอเนน และกล่าวถึงผู้ขับขี่อาชาแห่งความมืดที่ท่องเที่ยวมาพรากพวกเขาไป ซึ่งเมลคอร์ได้จัดให้สมุนของเขาขับม้ามาสร้างความหวาดกลัวแก่เหล่าปฐมชน เพื่อป้องกันมิให้พวกเขาเข้าใกล้โอโรเม ที่มักขี่ม้ามาท่องเที่ยวอยู่เสมอ
-->ผู้ที่ถูกจับไปนั้นยากจะทราบได้ว่าพวกเขามีชะตาไปเช่นใด แต่ปราชญ์แห่งเอเรสเซอา (Eressea) กล่าวว่า พวกเขาถูกขังในคุกแห่งอุทุมโน และถูกทรมาน และเมลคอร์ได้สร้างสายพันธุ์ใหม่ที่มีแต่ความน่าเกลียดและความสยดสยองในจิตใจ นั่นคือพวกออร์ค (Orcs) ทั้งนี้ด้วยความอิจฉาที่มีต่อพวกเอล์ฟ, ซึ่งภายหลังได้เป็นศัตรูที่ยิ่งใหญ่ของเมลคอร์
-->ดังนั้นเมื่อเทพโอโรเมปรากฏองค์ขึ้น เหล่าเอล์ฟบ้างก็หลบซ่อน บ้างก็หนีไปและหลงทางหายไป แต่ยังมีบางพวกที่กล้าหาญ มิได้หลบหนี แต่กลับกล้าเผชิญหน้ากับพระองค์ ทั้งนี้เพราะพวกเขารู้สึกถึงความแตกต่างระหว่างผู้ขับขี่อาชาดำ ส่วนพระองค์โอโรเมนั้นมีแสงสว่างในพระพักตร์
-->โอโรเมทรงเที่ยวเยี่ยมเหล่าเอล์ฟ แล้วก็เร่งรุดกลับไปยังนครวาลมาร์ (Valmar) เพื่อแจ้งข่าวปฐมชนและความชั่วร้ายที่คุกคามคุยวิเอเนน เหล่าวาลาร์เมื่อทราบข่าวก็ยินดีนัก ขณะเดียวกันก็ข้องกังวลใจ ได้จัดประชุมเทพขึ้นเพื่อหาข้อยุติในการนำเหล่าปฐมชนให้รอดพ้นจากเมลคอร์ แต่ฝ่ายโอโรเมนั้นมิได้อยู่รอ เมื่อแจ้งข่าวแล้วก็ทรงกลับมายังมัชฌิมโลก และประทับอยู่กับเหล่าเอล์ฟ
-->เทพมานเวประทับนิ่งอยู่ในห้วงความคิด รับฟังพระวินิจฉัยจากมหาเทพอิลูวาตาร์ที่ปรากฏขึ้นในพระหทัย ครั้นแล้วพระองค์ก็กำหนดคณะมนตรีแห่งการพิพากษา (The Ring of Doom) ซึ่งมีเทพอุลโมแห่งห้วงสมุทรรวมอยู่ด้วย มานเวตรัสว่า มหาเทพอิลูวาตาร์โปรดให้เหล่าวาลาร์เข้าปกครองอาร์ดาในทุกทาง และคุ้มครองเหล่าเควนดิให้พ้นจากเมลคอร์ให้จงได้ เทพทุลคัสได้ฟังก็ยินดีนัก แต่เทพอาวเล (Aule) กลับทรงปริวิตก ด้วยตระหนักถึงความสูญเสียใหญ่หลวงแก่แผ่นดินอันจะเกิดขึ้นจากการณ์นี้
-->ครั้นแล้วเหล่าวาลาร์ก็กรีธาทัพออกจากอามัน และโจมตีที่มั่นของเมลคอร์อย่างรวดเร็วประดุจสายฟ้า และมีชัยชำนะอย่างเด็ดขาด เมลคอร์ไม่เคยลืมความล่มสลายของตนในครั้งนี้เลย ว่าทุกสิ่งเกิดขึ้นในนามของเหล่าปฐมชนเหล่านั้น แม้ว่าพวกเอล์ฟจักมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการยุทธครั้งนี้เลย และในเวลานั้นพวกเขาไม่รู้แม้ว่าการโจมตีจากทางประจิมต่อนครทางเหนือของแผ่นดินนั้นเกิดขึ้นจากสิ่งใด
-->การโจมตีอย่างฉับพลันเกิดขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นดิน และปราการในภูมิภาคนั้นก็แตกพ่าย บรรดาบริวารของเมลคอร์ต่างแตกตื่นหนีไปทางอุทุมโน เหล่าวาลาร์ทรงแผ่กำลังไปยังทุกส่วนของมัชฌิมโลก และจัดผู้คุ้มครองบริเวณคุยวิเอเนนไว้อย่างแข็งแรง มีการยุทธใหญ่ที่หน้าทวารแห่งอุทุมโน ซึ่งเหล่าเควนดิได้เห็นเพียงสายฟ้าและแสงเพลิงมากมายจากทางเหนือ กับความครืนครั่นลั่นเลื่อนอันบังเกิดขึ้นจากพระกำลังของเหล่าวาลาร์เท่านั้น แต่มิได้ประจักษ์ว่าสงครามนั้นเป็นฉันใด
-->วาระนั้น แผ่นดินและผืนน้ำก็ได้เปลี่ยนแปลง มหาสมุทรใหญ่ (The Great Sea) ได้ขยายกว้างขึ้น และดิ่งลึกมากขึ้น แยกให้อามันออกห่างจากมัชฌิมโลก เกิดอ่าวขนาดใหญ่ขึ้นทางตอนใต้ มีอ่าวเล็กอ่าวน้อยอีกมากมายระหว่างอ่าวใหญ่ (The Great Gulf) กับช่องแคบเฮลคารักเซ (Helcaraxe) ทางด้านเหนือ โดยมีอ่าวบาลาร์ (Balar) เป็นอ่าวใหญ่ที่สุด เป็นจุดปลายสุดของมหานทีซิริออน (Sirion) ที่ไหลมาจากดินแดนที่ราบสูงตอนเหนือที่บังเกิดขึ้นใหม่ คือแผ่นดินดอร์โธนิออน (Dorthonion) และเทือกเขาฮิธลุม (Hithlum) ไกลออกไปทางเหนือ อุทุมโนได้กลายเป็นหุบเหวลึกสุดพรรณนา ทับถมด้วยเปลวเพลิงและร่างของบรรดาบริวารแห่งเมลคอร์
-->มิช้านาน ทวารแห่งอุทุมโนก็แตก เมลคอร์หลบหนีไปยังหลุมลึกเพื่อซ่อนตัว แต่ก็ไม่อาจพ้นการจับกุมของเทพทุลคัสได้ พระองค์ล่ามเมลคอร์ไว้ด้วยตรวนอันกายนอร์ (Angainor) ซึ่งประดิษฐ์โดยเทพอาวเล และโลกก็ได้บังเกิดสันติสุขนับแต่นั้น
-->แต่อย่างไรก็ดี เหล่าวาลาร์มิได้ค้นพบห้องใต้ดินและช่องลับมากมายภายใต้อังบันด์และอุทุมโน ที่ซึ่งยังมีปีศาจร้ายอีกจำนวนมากหลบหนีและซ่อนตัวอยู่เพื่อรอเวลาแห่งความชั่วร้ายมาเยือนอีกครั้ง และที่สำคัญคือพวกเขาไม่พบว่าเซารอนอยู่ที่ใด
-->เมื่อสงครามสิ้นสุด ได้เกิดฝุ่นควันคละคลุ้งบดบังแสงดาวสิ้น เหล่าวาลาร์นำตัวเมลคอร์ใส่จองจำกลับไปยังวาลินอร์ เพื่อรอคำตัดสินจากคณะมนตรีแห่งการพิพากษา เมลคอร์หมอบกราบอยู่ต่อหน้าองค์มานเววิงวอนขอการอภัยโทษ แต่คำตัดสินมีให้เทพมานดอสนำตัวไปจองจำ โดยสร้างที่คุมขังไว้ทางตะวันตกของอามัน และให้จองจำไว้นานสามชั่วยุค (Three ages long) จากนั้นจึงจะพิจารณาการอภัยโทษภายหลัง
-->ครั้นแล้วเหล่าเทพจึงได้ชุมนุมกันอีกครั้ง เพื่อหารือถึงอนาคตของเหล่าเควนดิ เทพจำนวนหนึ่งโดยมีอุลโมเป็นแกนนำ เห็นว่าควรให้เหล่าเควนดิอยู่ในมัชฌิมโลกต่อไป ด้วยพรสวรรค์ของพวกเขาจักได้ทำหน้าที่พิทักษ์และเยียวยาสรรพสิ่งรวมถึงพวกเขาเองได้ด้วย แต่เทพอีกกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนมากกว่า เห็นว่าควรให้เควนดิมายังวาลินอร์ เพื่อให้พ้นจากภัยอันอาจเกิดจากการที่หมอกควันคละคลุ้งคลุมผืนฟ้า แต่เหตุผลที่สำคัญคือพวกเขาหลงรักเหล่าเควนดิและปรารถนาจะให้มาอยู่ใกล้ ในที่สุด ที่ประชุมสรุปให้นำพาเหล่าเควนดิมาอาศัยอยู่ภายใต้แสงแห่งพฤกษาตลอดกาล ดังนั้นมานดอสจึงได้เอ่ยขึ้นว่า ‘นี่เป็นชะตากำหนด’ และแล้วจากการตัดสินใจครั้งนี้ ก็บังเกิดเป็นโศกนาฏกรรมอีกมากมายที่จักตามมา
-->แต่เหล่าเอล์ฟไม่ยินดีกับการตัดสินใจนี้ เพราะพวกเขาได้เห็นเทพวาลาร์จากการยุทธ และบังเกิดความหวาดกลัวกันมาก เว้นแต่เพียงเทพโอโรเมที่พวกเขาให้ความไว้ใจเท่านั้น ดังนั้นเทพโอโรเมจึงถูกส่งมายังพวกเขาอีกครั้ง พระองค์ได้คัดเลือกผู้แทนจากเหล่าเอล์ฟ เพื่อทำหน้าที่เป็นทูตไปเยือนวาลินอร์ และจะได้กลับมาเล่าขานชักชวนประชาชนของพวกเขา ผู้แทนที่เทพโอโรเมทรงเลือกได้แก่ อิงเว (Ingwe) ฟินเว (Finwe) และเอลเว (Elwe) ผู้ซึ่งภายหลังได้เป็นกษัตริย์ของเหล่าเอล์ฟ เมื่อทั้งสามได้ยลพฤกษาแห่งวาลินอร์ และได้ประสบความรุ่งโรจน์และสง่างามของเหล่าวาลาร์ ก็บังเกิดความปิติโสมนัสนัก ได้กลับมากล่าวชักชวนเหล่าเอล์ฟให้ยินดีเดินทางไปยังตะวันตกด้วยกัน
-->ดังนั้นเหล่าเอล์ฟในเชื้อสายตระผมลของอิงเว และเอล์ฟส่วนใหญ่ในตระผมลของฟินเวและเอลเว ก็ยินดีจะเดินทางไปยังตะวันตกกับโอโรเม เอล์ฟเหล่านี้จึงถูกขานว่า เอลดาร์ ตามคำที่โอโรเมได้ตั้งชื่อพวกเขาไว้เป็นครั้งแรก แต่ยังมีเอล์ฟอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่เชื่อในคำร่ำลือนั้น และยินดีจะอยู่กับแสงดาวและแผ่นดินกว้างใหญ่ของมัชฌิมโลกต่อไป เอล์ฟเหล่านี้ถูกขานว่า อาวารี (Avari) พวกเขาไม่ได้พบกับเอลดาร์อีกเลย จนกระทั่งเวลาผ่านไปนานนับยุค
-->จากนั้นเหล่าเอล์ฟจึงได้จัดเตรียมการเดินทาง โดยแบ่งออกเป็นสามกลุ่มตามสายตระผมล กลุ่มที่เล็กที่สุด และเดินทางล่วงหน้าไปก่อนกลุ่มอื่น คือกลุ่มของพวกวานยาร์(Vanyar)ภายใต้การนำของอิงเวผู้สูงศักดิ์วานยาร์เอล์ฟแห่งความสง่างาม (The Fair Elves)ได้กลายเป็นที่โปรดปรานยิ่งของเทพราชันย์มานเวและเทพราชินีวาร์ดา ชื่อของอิงเวได้รับการยกย่องอย่างสูงในบรรดาเอล์ฟทั้งปวง แต่เขามิได้กลับมายังมัชฌิมโลกอีกเลย และชื่อของพวกเขาก็เป็นที่รู้จักน้อยมากในมัชฌิมโลก
-->กลุ่มที่สองภายใต้การนำของฟินเว คือพวกโนลดอร์ (Noldor) เอล์ฟแห่งภูมิปัญญา (The Deep Elves)ผู้เป็นที่สนิทสนมรักใคร่ของเทพอาวเล ชื่อของพวกเขาปรากฏกำจายในบทเพลงและลำนำจำนวนมาก ถึงการต่อสู้และโศกนาฏกรรมมากมายในแผ่นดินเหนือเมื่อยุคโบราณ
-->กลุ่มที่สามอันเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด และเดินทางล่าช้าที่สุด เนื่องจากพวกเขามัวเดินทางโอ้เอ้อยู่ มิได้มีใจเห็นชอบกับการเดินทางอย่างสุดจิตสุดใจนัก คือพวกเทเลรี (Teleri) เอล์ฟแห่งสายธาร (The Sea Elves)เนื่องจากพวกเขารักสายน้ำยิ่งนัก จึงเมื่อพวกเขาเดินทางมาถึงชายฝั่งทะเลตะวันตก ก็ตื่นตาตื่นใจกับภาพมหาสมุทรใหญ่ตรงหน้า เมื่อได้ไปถึงอามัน พวกเขาได้ชื่อว่าฟาลมารี (Falmari) เนื่องจากได้สร้างสรรค์เสียงเพลงขึ้นจากเสียงคลื่น เอล์ฟกลุ่มนี้มีผู้นำถึงสองคนเนื่องจากมีจำนวนมาก คือ เอลเว ซิงโกลโล (Elwe Singollo) และน้องชายของเขา โอลเว (Olwe)
-->จากนั้นเหล่าเอล์ฟจึงได้จัดเตรียมการเดินทาง โดยแบ่งออกเป็นสามกลุ่มตามสายตระผมล กลุ่มที่เล็กที่สุด และเดินทางล่วงหน้าไปก่อนกลุ่มอื่น คือกลุ่มของพวกวานยาร์(Vanyar)ภายใต้การนำของอิงเวผู้สูงศักดิ์วานยาร์เอล์ฟแห่งความสง่างาม (The Fair Elves)ได้กลายเป็นที่โปรดปรานยิ่งของเทพราชันย์มานเวและเทพราชินีวาร์ดา ชื่อของอิงเวได้รับการยกย่องอย่างสูงในบรรดาเอล์ฟทั้งปวง แต่เขามิได้กลับมายังมัชฌิมโลกอีกเลย และชื่อของพวกเขาก็เป็นที่รู้จักน้อยมากในมัชฌิมโลก
-->กลุ่มที่สองภายใต้การนำของฟินเว คือพวกโนลดอร์ (Noldor) เอล์ฟแห่งภูมิปัญญา (The Deep Elves)ผู้เป็นที่สนิทสนมรักใคร่ของเทพอาวเล ชื่อของพวกเขาปรากฏกำจายในบทเพลงและลำนำจำนวนมาก ถึงการต่อสู้และโศกนาฏกรรมมากมายในแผ่นดินเหนือเมื่อยุคโบราณ
-->กลุ่มที่สามอันเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด และเดินทางล่าช้าที่สุด เนื่องจากพวกเขามัวเดินทางโอ้เอ้อยู่ มิได้มีใจเห็นชอบกับการเดินทางอย่างสุดจิตสุดใจนัก คือพวกเทเลรี (Teleri) เอล์ฟแห่งสายธาร (The Sea Elves)เนื่องจากพวกเขารักสายน้ำยิ่งนัก จึงเมื่อพวกเขาเดินทางมาถึงชายฝั่งทะเลตะวันตก ก็ตื่นตาตื่นใจกับภาพมหาสมุทรใหญ่ตรงหน้า เมื่อได้ไปถึงอามัน พวกเขาได้ชื่อว่าฟาลมารี (Falmari) เนื่องจากได้สร้างสรรค์เสียงเพลงขึ้นจากเสียงคลื่น เอล์ฟกลุ่มนี้มีผู้นำถึงสองคนเนื่องจากมีจำนวนมาก คือ เอลเว ซิงโกลโล (Elwe Singollo) และน้องชายของเขา โอลเว (Olwe)
-->ทั้งหมดนี้คือเหล่าเอล์ฟที่ได้เดินทางไปยังตะวันตก มีชื่อเรียกรวมว่า คาลาเควนดิ (Calaquendi) อันหมายถึงเอล์ฟแห่งแสงสว่าง (Elves of the Light) แต่ยังมีเอล์ฟจำนวนหนึ่งที่พลัดหลงไประหว่างทาง หรือแยกทางไป หรือละความตั้งใจและตั้งถิ่นฐานขึ้น พวกนี้ส่วนใหญ่เป็นพวกเทเลรี พวกเขาอาศัยอยู่ตามริมชายฝั่ง หรือตามป่าต่างๆ หรือตามภูเขาในมัชฌิมโลก พวกคาลาเควนดิเรียกเอล์ฟกลุ่มนี้ว่า อูมานยาร์ (Umanyar) เพราะพวกเขาไม่อาจไปถึงอามันและแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ทั้งอูมานยาร์และอาวารี ถูกเรียกรวมกันว่า โมริเควนดิ (Moriquendi) หรือเอล์ฟแห่งความมืด (Elves of the Darkness) เนื่องจากพวกเขาไม่เคยเห็นแสงสว่างอันมีมาก่อนแสงอาทิตย์และแสงจันทร์
-->เมื่อพวกเอล์ฟเริ่มออกเดินทางจากควิวิเอเนน เทพโอโรเมทรงม้านาฮาร์สีขาวปลอดเกือกทองนำหน้าขบวนเอล์ฟเหล่านั้น การเดินทางเป็นไปอย่างเชื่องช้า เพราะพวกเอล์ฟต่างตื่นตาตื่นใจกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาได้พบเห็นในระหว่างทาง บ้างก็รื่นเริงกับแมกไม้และสายธารที่ได้พบ พวกเขาเกรงว่าการเดินทางจะสิ้นสุดมากกว่า ดังนั้นเมื่อใดที่เทพโอโรเมต้องผละจากขบวนไปด้วยมีภารกิจอื่นต้องปฏิบัติ ขบวนก็จะหยุดพัก จนกว่าพระองค์จะกลับมาทรงนำการเดินทางอีกครั้ง เป็นเวลาหลายปีกว่าที่พวกเขาจะมาถึงแม่น้ำใหญ่สายหนึ่ง ที่นั้นมีเทือกเขาใหญ่ที่มียอดเขาสูงแหลมเสียดฟ้า แม่น้ำนั้นคือมหานทีอันดูอิน (Anduin the Great) และเทือกเขานั้นก็คือ ฮิธายเกลียร์ (Hithaeglir) หรือปราการแห่งหมอก (The Towers of Mist) เป็นชายอาณาเขตของแผ่นดินเอเรียดอร์ (Eriador) เวลานั้น เทือกเขายังสูงกว่าทุกวันนี้ และมีภยันตรายมากกว่าทุกวันนี้
-->ขณะนั้น พวกเทเลรียังอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ ขณะที่พวกวานยาร์และพวกโนลดอร์ได้ข้ามไปแล้ว เทพโอโรเมทรงนำพวกเอล์ฟข้ามเทือกเขาฮิธายเกลียร์ไป ครั้นเมื่อเทพโอโรเมลับสายตา พวกเทเลรีที่ยังตกค้างอยู่ก็ได้แต่มองเงาสูงทะมึนของฮิธายเกลียร์ด้วยความพรั่นพรึง
-->ครั้นแล้ว เอล์ฟคนหนึ่งในกลุ่มของโอลเว มีชื่อว่า เลนเว (Lenwe) ก็ได้แยกตัวออกจากกลุ่มไป เขาพาพรรคพวกจำนวนหนึ่งออกเดินทางลงมาทางใต้ และพวกที่เหลือก็ไม่ทราบเรื่องราวของพวกเขาอีกจนอีกหลายปีผ่านไป พวกเขามีชื่อเรียกว่า นานดอร์ (Nandor) ได้ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ตามน้ำตกและลำธารสายต่างๆ เพราะมีใจรักในสายธารอยู่ พวกเขามีความรู้เพิ่มพูนขึ้นจากแผ่นดินของเขา ชำนาญในพฤกษ์พงและสมุนไพร มีความรู้เกี่ยวกับนกและ!ป่าทั้งหลายมากยิ่งกว่าพวกเอล์ฟกลุ่มใดๆ เป็นเวลาหลายปีผ่านไป เดเนธอร์ (Denethor) บุตรแห่งเลนเว ก็ได้มุ่งหน้าไปยังตะวันตกในที่สุด โดยพาพวกเอล์ฟจำนวนหนึ่งข้ามเทือกเขาไปจนถึงแผ่นดินเบเลเรียนด์ (Beleriand) จนได้ก่อนที่พระจันทร์จะบังเกิดขึ้น
-->ฝ่ายพวกวานยาร์และโนลดอร์ได้เดินทางข้ามเทือกเขาเอเรด ลูอิน (Ered Luin) หรือเทือกเขาสีน้ำเงิน (The Blue Mountains) ซึ่งอยู่ระหว่างแผ่นดินเอเรียดอร์กับดินแดนตะวันตก ซึ่งพวกเอล์ฟตั้งชื่อแผ่นดินนี้ต่อมาว่าเบเลเรียนด์ พวกเขาได้เดินทางผ่านหุบผาแห่งซิริออน และเดินทางลงมาถึงชายฝั่งทะเลช่วงระหว่างร่องทะเลเดรนกิสต์ (Drengist) กับอ่าวบาลาร์ เมื่อพวกเขาได้มาถึง ก็บังเกิดความกลัวขึ้น บางส่วนก็หลบไปอาศัยอยู่ในป่าและแผ่นดินอื่นในเบเลเรียนด์นั้น ครั้งนั้นเทพโอโรเมได้ละพวกเขาไว้ตามลำพัง และกลับไปทูลขอคำปรึกษาจากเทพราชันย์มานเว
-->ส่วนพวกเทเลรีนั้นได้หาทางข้ามเทือกเขาแห่งหมอกมาจนได้ และเร่งรุดเดินทางข้ามแผ่นดินกว้างใหญ่ของเอเรียดอร์ ด้วยเอลเวนั้นปรารถนาจะได้กลับไปเห็นแสงแห่งวาลินอร์อีกครั้งโดยเร็ว และไม่ต้องการถูกแยกห่างจากพวกโนลดอร์ เพราะเอลเวและฟินเวนั้นเป็นสหายสนิทต่อกัน เป็นเวลาอีกหลายปี พวกเทเลริจึงเดินทางมาถึงทางตะวันออกของแผ่นดินเบเลเรียนด์ และพวกเขาได้หยุดพักกันอยู่บริเวณแม่น้ำเกลิออน (Gelion)
ปอลิง.ภาพส่วนใหญ่เป็นดาร์ก เอล์ฟ
อ่านต่อ :http://writer.dek-d.com/0012/story/viewlongc.php?id=446421&chapter=28#ixzz1HKk0cteo
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น