วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

 ...GARGOYLES...  
     


ความหมาย
    การ์กอยล์หรือปนาลี(ภาษาอังกฤษ: Gargoyle)ความหมายของการ์กอยล์ทางสถาปัตยกรรมหมายถึงหินที่แกะเป็นรูปอัปลักษณ์(grotesque) ยื่นออกไปจากสิ่งก่อสร้างที่มีรางและช่องให้น้ำจากหลังคาไหลห่างจากตัวสิ่ง ก่อสร้าง

    คำว่า “gargoyle”มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า “gargouille” ซึ่งแปลว่าคอหอยซึ่งมาจากภาษาละติน“gurgulio, gula” หรือคำที่มีรากมาจาก “gar” ที่แปลว่ากลืนซึ่งคล้ายเสียงน้ำไหลในท่อ (ตัวอย่าง: ภาษาสเปน “garganta” แปลว่าคอหอย จึงใช้คำว่า “garganta” สำหรับ “gargoyle”)

     รูปอัปลักษณ์ที่มิได้ใช้เป็นรางน้ำแต่ใช้เป็นสิ่งตกแต่ง ตามภาษาสามัญก็ยังเรียกว่า
การ์กอยล์ถึงแม้ว่าทางสถาปัตยกรรมจะแยกการใช้ระหว่างคำว่า “การ์กอยล์” และคำว่า “รูปอัปลักษณ์”การ์กอยล์จะเป็นคำที่ใช้สำหรับรูปอัปลักษณ์ที่ใช้เป็นรางน้ำและ คำว่า“รูปอัปลักษณ์” จะหมายถึงรูปสลักที่มิได้ใช้เป็นรางน้ำ

   การ์กอยล์จะเป็นรูปสลักตามมุมต่าง ๆ ของสถาปัตยกรรมในแบบกอธิคใน ยุโรปโดยมากจะสลักเป็นรูปมังกร หรือ ปีศาจในท่วงท่าต่าง ๆ โดยท่าที่รู้จักมากที่สุด คือ นั่งยอง ๆ ตามองไปทางข้างหน้า
     การ์กอยล์เชื่อว่าเดิมเป็นมังกรชาวยุโรปในยุคกลางเชื่อว่าการ์กอยล์เมื่อตอนกลางวันจะเป็นรูปสลัก ตกกลางคืนจะกลายร่างเป็นมังกรบินไปทั่วหมู่บ้านหรือเมืองที่อาศัย เพื่อปกป้องดูแลมิให้มีสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ เข้ามารังควาน


การ์กอยล์
     การ์กอยล์(Gargoyles)ปัจจุบันอาศัยอยู่ตามโบสถ์ มหาวิหาร อาคารต่างๆของซีกโลกตะวันตกมหาวิหารดังๆที่โลกรู้จักกันก็มี มังกรการ์กอยล์ อาศัยอยู่ เช่น...
วิหารนอเตรอดาม แห่ง กรุงปารีส (Notre Dame de Paris)
มหาวิหารนอเตรอ - ดาม แห่ง ดิฌง (Notre Dame de Dijon)
วิหารแห่งชาติ ณ กรุงวอชิงตัน (Washington National Cathedral)

     นับว่าเจ้ารูปสลัก การ์กอยล์  เป็นประติมากรรมที่สวยงามชิ้นเยี่ยมชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว และก็ไม่ได้มีไว้ประดับประดาอาคารเพื่อความสวยงามเท่านั้น ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย นั่นคือ เป็นที่ระบายน้ำฝน ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่า รูปสลักหน้าตาประหลาด ๆ เหล่านี้มักมีอากัปกิริยาแตกต่างกันไปแต่จะมีจุดหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือมีช่องทางให้ระบายน้ำได้ไม่ว่าจะเป็นทางปาก จมูก หู หรือส่วนอื่น ๆ ของรูปสลักเหล่านี้ ซึ่งบางครั้งอาจจะมีรูปร่างพิลึกพิลั่นอยู่บ้าง 
 
ตำนาน
    มีตำนานมากมายกล่าวถึงที่มาของชื่อ การ์กอยล์ หรือ ลา การ์กุยย์ นี้ แต่ตำนานเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย คือตำนานอันเก่าแก่ของฝรั่งเศส ที่เล่าขานกันว่า ประมาณ ศตวรรษที่ 7 ณ หมู่บ้านรูออง(Rouen) ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส

    "มีมังกรไฟตัวหนึ่งซึ่งมีนิสัยดุร้ายอาศัยอยู่ในถ้ำใกล้ริมแม่น้ำแซน(Seine) เจ้ามังกรตัวนี้ยื่นคำขาดให้ผู้คนในหมู่บ้านส่งหญิงพรหมจรรย์มาสังเวยมันทุกปี มิฉะนั้นมันจะพ่นไฟให้ทั้งหมู่บ้านจมอยู่ในกองเพลิงภายในพริบตา ด้วยความกลัว ชาวบ้านจึงจำต้องส่งหญิงสาวไปให้มันทุกปี หากปีใดไม่สามารถหาสาวบริสุทธ์ได้ก็จำต้องส่งนักโทษไปแทน แน่นอนว่าเจ้ามังกรตัวนี้ไม่พอใจอย่างยิ่ง ดังนั้นมันจะมาบินวนรอบ ๆ หมู่บ้านพร้อมกับพ่นไฟและ ส่งเสียงขู่คำรามในลำคอ อันเป็นเหตุให้ชาวบ้านเรียกเจ้ามังกรตัวนี้ว่า ลา การ์กุยย์ ชาวบ้านรูอองต้องหวาดกลัวเจ้ามังกรพ่นไปตัวนี้เป็นเวลานาน จนกระทั่ง...

    วันหนึ่ง นักบวช แซงต์ รูมานีส์(Saint Romanis) ได้มาเดินทางเยือนหมู่บ้านแห่งนี้ เมื่อได้รับรู้ชะตากรรมของชาวบ้าน ท่านก็เสนอตัวเข้าช่วยเหลือ โดยมีข้อแม้ว่าหากท่านปราบมังกรตัวนี้ได้ ชาวบ้านจะต้องสร้างโบสถ์ให้ท่านหนึ่งหลังซึ่งชาวบ้านก็ตกลงรับเงื่อนไขนี้โดยดีท่านนักบวชได้เดินทางไปยังถ้ำมังกรโดยไม่มีอาวุธใด ๆ นอกจากไม้กางเขนและศรัทธาต่อพระเจ้าเท่านั้น แต่กระนั้น ท่านก็สามารถสยบเจ้ามังกรร้ายตัวนี้ได้ และนำมันกลับมายังหมู่บ้านชาวบ้านรูอองรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่พวกเขาจะได้อยู่อย่างสงบสุขเสียที หลังจากต้องหวาดกลัวมังกรร้ายมาตลอดเวลา...

    ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่ามังกรไฟ ลา การ์กุยย์ นี้จะไม่สามารถกลับมาทำร้ายใครได้อีกชาวบ้านจึงจับมังกรนี้มัดและเผามันทั้งเป็นแต่เนื่องจากเจ้า ลา การ์กุยย์ เป็นมังกรพ่นไฟ เพลิงจึงเผาผลาญทุกส่วนของมันยกเว้นหัวและคอ ซึ่งไม่ว่าใช้วิธีใดก็ไม่สามารถทำลายมันได้
     ดังนั้น เมื่อชาวบ้านสร้างโบสถ์ให้นักบวช แซงต์ รูมานีส์ ตามสัญญานักบวชเลยแนะนำให้เอาหัวมังกรไปประดับไว้กับตัวโบสถ์เพราะเจ้ามังกรตัวนี้มีอำนาจศักด์สิทธิ์ ดังนั้นมันจะสามารถขับไล่มิให้ภูติผีปีศาจหรือสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ เข้ามาใน ตัวโบสถ์ได้
    นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมการนำเอารูปสลักสัตว์หน้าตาประหลาดต่าง ๆ มาประดับโบสถ์วิหารก็กลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ในยุโรปและเมื่อชาวยุโรปได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกา ก็ได้นำประติมากรรมประหลาดนี้ไปด้วย ดังนั้น ตามวิหารหรืออาคารจำนวนไม่น้อยในสหรัฐอเมริกาจึงประดับด้วยรูปสลักการ์กอยล์นี้เช่นกัน"...




      


อ่านต่อ :http://writer.dek-d.com/0012/story/viewlongc.php?id=446421&chapter=38#ixzz1HKkzLPhN

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น