วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

ANDRO-SPHINX


    เป็นพันธุ์ที่เราเรียกว่าแอนโดรสฟิงซ์(Andro-Sphinx)เป็นการผสมกันระหว่างมนุษย์กับสิงโตส่วนหัวที่เหมือนมนุษย์นั้นมีสัญลักษณ์ ของฟาโรห์อียิปต์แสดงไว้ชัดเจนคือมีเคราที่คาง ตรงหน้าผากมีงูจงอางแผ่แม่เบี้ย และมีเครื่องประดับ รัดเกล้าแบบกษัตริย์โดยรอบว่ากันว่า สฟิงซ์ คือ รูปเหมือนขนาดใหญ่กว่าร่างจริงสองเท่าของฮาร์มาชิส เทพแห่งรุ่งอรุณเมื่อตอนที่แปลงร่าง เป็นสิงโต มีเศียร เป็นฟาโรห์อียิปต์หรือ "sphingein" แปลว่า "การบีบรัด"
     รูปสลักสฟิงซ์ของอียิปต์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือมหาสฟิงซ์(The Great Sphinx of Giza) บริเวณใกล้กับพีระมิดคาเฟร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ หมู่พีระมิดแห่งกิซ่า (Giza Pyramid Complex)


    
 มหาสฟิงซ์ (The Great Sphinx of Giza)

     มหาสฟิงซ์ คือรูปสฟิงซ์แกะสลักด้วยหินขนาดใหญ่ที่สุด ใน ประเทศอียิปต์มีตัวเป็น สิงโต และมีหัวเป็น มนุษย์ อยู่ในบริเวณหมู่พีระมิดทั้ง 3 แห่งกิซ่า หมอบเฝ้าอยู่ใกล้กับ พีระมิดคาเฟร โดยหันหน้าไปทาง ทิศตะวันออก...
      สฟิงซ์ คือ ชื่อสัตว์ประหลาดในตำนานไอยคุปต์วิทยาและมีในตำนานชนชาติอื่นด้วยมีลักษณะต่างกันไป แต่จะมีตัวเป็นสิงโตเหมือนกัน

    สฟิงซ์ในตำนานกรีกมีใบหน้าและช่วงอกเป็นหญิงสาว มีปีกแบบนกอินทรีย์ และสามารถพูดภาษามนุษย์ได้ สฟิงซ์จะคอยถามคำถาม กับมนุษย์ที่หลงมาพบมันเข้า หากตอบคำถามไม่ได้ มนุษย์ผู้เคราะห์ร้ายนั้นก็จะถูกสังหาร

     ส่วนสฟิงซ์ของอียิปต์โบราณไม่มีปีกมีหน้าเป็นมนุษย์ผู้ชาย

     และยังมีแบบที่หัวเป็นแกะ(Criosphinx)และหัวเป็นนกเหยี่ยว(Hierocosphinx)อีกด้วย
     ชาวอียิปต์โบราณ แกะสลักหินเป็นรูปสฟิงซ์ไว้เป็นจำนวนมากแต่ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ มหาสฟิงซ์แห่งกิซ่า นี้เองโดยนักโบราณคดีเชื่อว่ามหาสฟิงซ์แห่งกิซ่าเป็นอนุสาวรีย์ของ ฟาโรห์คาเฟร (Khafre) หรือ คีเฟรน(Chephren) ฟาโรห์ในราชวงศ์ที่ 4 ผู้สร้างพีระมิดคาเฟร เมื่อประมาณ 2600 ปี ก่อนคริสต์กาลโดยเชื่อว่าใบหน้าของมหาสฟิงซ์ จำลองมาจากใบหน้า ของฟาโรห์คีเฟรนและสามารถสังเกตว่าส่วนหัวของ มหาสฟิงซ์ มีสัญลักษณ์ของฟาโรห์อียิปต์ แสดงเอาไว้อย่างชัดเจน คือมีเคราที่คาง มีงูจงอางแผ่แม่เบี้ยที่หน้าผาก และยังมีเครื่องประดับ รัดเกล้าแบบฟาโรห์ ประกอบเข้ากับผ้าคลุมศีรษะ และคออีกด้วย
    จึงถือกันว่ามหาสฟิงซ์นี้ เป็นอนุสาวรีย์แกะสลักเก่าแก่ที่สุดที่รู้จักกันอียิปต์โบราณถือกันว่าสฟิงซ์เป็นร่างจำแลงภาคหนึ่งของเทพเจ้า การที่ฟาโรห์คาเฟร ให้แกะสลักใบหน้าสฟิงซ์เป็นใบหน้าของพระองค์จึงเป็นการแสดงว่าพระองค์เปรียบดังเทพเจ้านั่นเอง


ประวัติ
    -->ประมาณ 1 พันปีต่อมา หลังจากยุคสมัยของฟาโรห์คาเฟรที่มหาสฟิงซ์ถูกสร้างขึ้น มหาสฟิงซ์ถูกพายุทรายพัดทับถมจนเหลือให้เห็นเพียงส่วนหัว เล่ากันว่ามีเทพเจ้ามาเข้าฝัน เจ้าชายธุตโมส บอกให้พระองค์นำทรายที่ทับถมมหาสฟิงซ์ออก หากทำตามจะส่งผลให้ พระองค์ได้เป็นฟาโรห์ที่ยิ่งใหญ่ มหาสฟิงซ์ จึงได้รับการดูแลรักษาเป็นครั้งแรก
   -->เจ้าชายธุตโมสนี้ ต่อมาได้ขึ้นครองอียิปต์เป็น ฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 4 (Thutmosis IV) แห่งราชวงศ์ที่ 18 นับเป็นฟาโรห์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง หลังยุคสมัยของฟาโรห์ธุสโมซิสที่ 4 ในเวลาต่อมา มหาสฟิงซ์ ก็ถูกทรายทับถมอีก และได้รับการดูแลรักษาขึ้นมาใหม่ จนเห็นเต็มตัวในปัจจุบัน
    -->ปัจจุบันใบหน้ามหาสฟิงซ์ ถูกทำลายจนแทบสังเกตรายละเอียดไม่ออก ร่ำลือกันว่า เกิดจากทหารของ นโปเลียน ที่มาอียิปต์ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ใช้ใบหน้าของมหาสฟิงซ์ เป็นเป้าซ้อมยิงปืน ทำให้รูปงูแผ่แม่เบี้ยที่หน้าผากชำรุดเสียหาย จมูกแหว่ง และเคราหลุด อย่างไรก็ตามจากหลักฐานภาพวาดเก่าแก่เมื่อ 400 ปีก่อน พบว่าจมูกของมหาสฟิงซ์ชำรุด ตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว และมีบันทึกของอาหรับว่า ใบหน้าสฟิงซ์ถูกทำลาย ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ซึ่งเป็นเวลาก่อนหน้ายุคสมัยของ นโปเลียน หลายร้อยปี
    -->นอกจากนี้ยังร่ำลือกันว่า ชิ้นส่วนของจมูกและเครามหาสฟิงซ์ ถูกนำไปเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์อังกฤษ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และทางการอียิปต์ ได้พยายามดำเนินการทวงถาม เพื่อนำกลับคืนประเทศอียิปต์แต่ยังไม่เป็นผล เรื่องชิ้นส่วนจมูกและเคราของมหาสฟิงซ์นั้น ความจริงปรากฏว่า ปัจจุบันบริติชมิวเซียมได้เก็บรักษา "ส่วนหนึ่ง" ของ เครามหาสฟิงซ์ ที่มีความยาวประมาณ 78 เซนติเมตรเอาไว้
ขนาด
     มหาสฟิงซ์ มีความยาววัดจากหัวถึงหางกว่า 240 ฟุต (74 เมตร) มีความสูงประมาณ 66 ฟุต (20 เมตร) และเฉพาะส่วนใบหน้าของ มหาสฟิงซ์ ก็กว้างถึงประมาณ 14 ฟุต ทั้งหมดแกะสลักขึ้น จากหินปูนก้อนใหญ่เพียงก้อนเดียว ดังนั้นนอกจากจะนับว่า เป็นอนุสาวรีย์แกะสลักที่เก่าแก่ที่สุดแล้ว มหาสฟิงซ์แห่งกิซ่า ยังเป็นรูปแกะสลักแบบลอยตัว จากหินก้อนเดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลกชิ้นหนึ่งอีกด้วย...


อ่านต่อ :http://writer.dek-d.com/0012/story/viewlongc.php?id=446421&chapter=56#ixzz1HKmzUUcc

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น